วันอาทิตย์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

การปฏิบัติงานในสัปดาห์ที่ 17 ระหว่างวันที่ 22-26 กุมภาพันธ์ 2553

งานที่ปฏิบัติ - ทำการคำนวณเลขอ่านการ์ด DEMAND คือ นำเลขอ่านของเดือนที่แล้ว มาบวกกับการใช้ของเดือนมกราคม 2553 - ลงประวัติการใช้ไฟฟ้า การ์ด AMR - จัดทำรายงาน 100 ลำดับของผู้ไฟฟ้ารายใหญ่ - จัดทำใบลดหนี้การใช้ไฟฟ้า จัดทำการ์ดประวัติการใช้ไฟฟ้า - ตรวจสอบใบแจ้งหนี้การใช้ไฟฟ้า - ตรวจสอบการเปลี่ยนเครื่องวัดไฟฟ้าที่ชำรุด - จัดทำรายงานผลการสอบเครื่องวัดปกติ
การปฏิบัติงานในสัปดาห์ที่ 16 ระหว่างวันที่ 15-19 กุมภาพันธ์ 2553

งานที่ปฏิบัติ - จัดทำการ์ดประวัติการใช้ไฟฟ้า ประเภท AMR - ตรวจสอบรายงานควบคุมใบเสร็จรับเงิน - จัดเรียงหมายเลขเครื่องวัดไฟฟ้า ตามรหัสและเบอร์เครื่องวัด - จัดทำรายงานผลการตรวจสอบเครื่องวัดปกติ - ตรวจสอบประวัติการใช้ไฟฟ้า ในระบบฐานข้อมูลของการใช้ไฟฟ้า -จัดพิมพ์การตรวจสอบการใช้ไฟฟ้า - ตรวจสอบหน่วยการใช้ไฟฟ้า จากรายงานรายละเอียดหน่วยวัดของต่ละเครื่องวัด - ลงทะเบียนควบคุมการออกใบแจ้งค่าไฟฟ้า F.210 -ใส่ข้อมูลประวัติเครื่องวัด AMR -ตรวจสอบรายงานการจดหน่วยเครื่องวัดไฟฟ้า - จัดทำใบลดหนี้การใช้ไฟฟ้า
การปฏิบัติงานสัปดาห์ที่ 15 ระหว่างวันที่ 8-12 กุมภาพันธ์ 2553

งานที่ปฏิบัติ - จัดทำการ์ดประวัติการใช้ไฟฟ้า ประเภท AMR - ตรวจสอบและบันทึกผลการเปลี่ยนเครื่องวัดไฟฟ้า - ใส่ข้อมูลเครื่องวัด AMR - ตรวจสอบประเภทการใช้ไฟฟ้า - ลงบันทึกเบอร์เครื่องวัดสาเหตุของความผิดปกติและวิธีการดำเนินการต่อ - ตรวจสอบการเปลี่ยนเครื่องวัดไฟฟ้าชำรุด - ตรวจสอบการออกใบแจ้งหนี้ - ใส่ข้อมูลประวัติเครื่องวัด AMR - จัดพิมพ์การตรวจสอบการใช้ไฟฟ้า - ลงทะเบียนควบคุมการออกใบแจ้งหนี้ - จัดทำหมายแจ้งเรื่อง ข้อตกลงการคำนวณค่าไฟฟ้าที่รัฐบาลรับภาระตามมาตราการลดค่าใช้จ่ายไฟฟ้าของครัวเรือนแก่กลุ่มที่มีรายได้น้อยที่เช่าอาศัยในห้องเช่า - จัดทำรายงานรายละเอียด การยกเลิกใบแจ้งค่าไฟฟ้าในส่วนที่รัฐบาลรับภาระ ประจำเดือนมกราคม 2553
การปฏิบัติงานสัปดาห์ที่ 14 ระว่างวันที่ 1-5 กุมภาพันธ์ 2553

งานที่ปฏิบัติ - จัดเรียงหมายเลขเครื่องวัดไฟฟ้าตามรหัส และเบอร์เครื่องวัด โดยเรียงตามรหัส 46,93,94 และตามเบอร์เครื่องวัดจากน้อยไปหามาก - ลงข้อมูลเครื่องวัด AMR เป็นการเปรียบเทียบข้อมูลระหว่างบริษัท AMR กับบริษัทช้างคู่ แระจำเดือนมหราคม - ตรวจนสอบรายงานการจดหน่วยวเครื่องวัดไฟฟ้า การคเปลี่ยนเครื่องวัดโดยดูหมายเลข MEA และวันที่ทำการเปลี่ยนเครื่องวัดไฟฟ้า - ลงทะเบียนควบคุมการออกใบแจ้งค่าไฟฟ้า F.210 - ตรวจสอบประเภทของไฟฟ้า - บันทึกและแก้ไขข้อมูลประวัติการใช้ไฟฟ้า - ตรวจสอบข้อมูลการใช้ไฟฟ้าของกิจการ ในฐานข้อมูลการใช้ไฟฟ้า - จัดพิมพ์ประวัติการเปลี่ยนแปลงเครื่องวัดการใช้ไฟฟ้า - ใส่ข้อมูลประวัติเครื่องวัด AMR ซึ่งเป็นการคำนวณเลขอ่านการใช้ไฟฟ้า - ตรวจสอบระดับการใช้ไฟฟ้าว่ามีความผิดปกติหรือไม่

วันจันทร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

การปฏิบัติงานสัปดาห์ที่ 13 ระหว่างวันที่ 25-29 มกราคม 2553

งานที่ปฏิบัติ - ลงบันทึกปิดงาน การถอดเครื่องวัดไฟฟ้า และเลขที่เครื่องวัดที่เสียหาย ไม่มีการคิดเงิน โดยการคีย์ข้อมูลบันทึกลงในฐานข้อมูล ตรวจสอบการออกใบเสร็จรับเงิน และหน่วยไฟฟ้าให้มีความถูกต้อง จัดทำการ์ดประวัติเครื่องวัด TOU.TOD และจัดทำการ์ดประวัติไฟฟ้าพิเศษ ตรวจสอบวันที่ทำการจดหน่วยครั้งสุดท้ายของไฟรัฐบาล คัดลอกจำหน่วยหน่วยการใช้ไฟฟ้า ในการ์ด TOU.TOD
การฝึกงานสัปดาห์ที่ 12 ระหว่างวันที่ 18-22 มกราคม 2553

งานที่ปฏิบัติ - ตรวจสอบประวัติการใช้เครื่องวัดไฟฟ้า ในระบบงาน SAP จัดทำรายงานการทำโอที่ของพนักงาน ในแผนก จัดทำการ์ดประวัติการใช้ไฟฟ้า TOU.TOD และจัดทำการ์ดประวัติการใช้ไฟฟ้าที่เป็นไฟฟ้าประเภทพิเศษ ตรวจสอบประวัติการเปลี่ยนแปลงเครื่องวัดไฟฟ้า จัดทำรายงานการแยกประเภทของไฟฟ้า ซึ่งแบ่งออกเป็น 6 ประเภท แยกตามวันที่ และประเภท ทำการตรวจสอบการออกใบเสร็จรับเงินในระบบงาน SAP

ปัญหา - การใช้งานระบบงาน SAP มีการขัดข้องเนื่องจากระบบมีความซับซ้อนทำให้การทำงานล่าช้า

การแก้ปัญหา - จดจำการทำงานให้ละเอียด และพยายามศึกษาระบบ เมื่อมีเวลาว่างจากการทำงาน

วันอาทิตย์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2553

การปฏิบัติงานสัปดาห์ที่ 11 ระหว่างวันที่ 11-15 มกราคม 2553

งานที่ปฏิบัติ - ตรวจสอบรายงานการจดหน่วยเคื่องวัดไฟฟ้า การเปลี่ยนเครื่องวัดไฟฟ้า โดยดูหมายเลข MEA และวันที่ทำการเปลี่ยนเครื่องวัดไฟฟ้า ในระบบสอบถามข้อมูลเครื่องวัดไฟฟ้า - จัดทำรายงานรายละเอียด การยกเลิกใบแจ้งค่าไฟฟ้าในส่วนที่รัฐบาลรับภาระ ประจำเดือนธันวาคม โดยจะต้องทำการใส่หมายเลขเครื่องวัดไฟฟ้า เลขที่ใบแจ้งค่าไฟฟ้า วันที่จดหน่วยครั้งหลัง จำนวนหน่วย จำนวนเงิน ภาษี และจำนวนเงินรวม โดยจะต้องทำสูตรในการคิดภาษีและจำนวนเงินรวม - ศึกษาระบบงานใหม่ SAP เป็นระบบงานฐานข้อมูลใหม่ของการไฟฟ้าเป็นการศึกษาการใช้งานเกี่ยวกับการหาหน่วยการใช้ไฟฟ้า การสอบประวัติเครื่องวัดไฟฟ้า การเปลี่ยนเครื่องวัดไฟฟ้า และการออกใบเสร็จรับเงิน - ตรวจสอบการเปลี่ยนเครื่องวัดที่เสียหาย/ชำรุด ในระบบฐานข้อมูลเดิมและระบบ SAP - ตรวจสอบรายงานควบคุมใบเสร็จรับเงิน เป็นการดูหมายเลขเครื่องวัดไฟฟ้า จำนวนเงิน วันที่จดหน่วยครั้งสุดท้าย และแยกประเภทไฟฟ้าออกเป็น ไฟรัฐบาล ไฟพิเศษ ไฟตำรวจ ไฟคอนโด ไฟTOU - ลงทะเบียนการออกใบแจ้งหนี้ค่าไฟฟ้า F.210 เป็นการลงเลขที่เครื่งวัดไฟฟ้า วันที่จดครั้งหลัง จำนวนเงิน สาเหตุการออกใบแจ้งหนี้ - ตรวจสอบการบันทึกข้อมูล ความผิดปกติของเครื่องวัดไฟฟ้า ว่ามีการบันทึกข้อมูลเกิดขึ้นหรือยัง โดยเข้าไปตรวจสอบในระบบงานใหม่ SAP

ปัญหาที่เกิดขึ้น - ระบบงานใหม่ SAP มีความยุ่งยากมากกว่าเดิม ทำให้การเข้าไปตรวจสอบงานเครื่องวัดไฟฟ้า มีความล่าช้าและยังไม่มีความชำนาญในการใช้ระบบ ทำให้เกิดความผิดพลาดในการอ่านข้อมูล

การแก้ไขปัญหา - ศึกษาระบบงาน SAP ให้ละเอียดและสอบถามผู้มอบหมายงานให้เข้าใจว่าต้องตรวจสอบข้อมูลในส่วนใด และจะต้องเข้าไปทำในส่วนไหน

วันเสาร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2553

การปฏิบัติงานในสัปดาห์ที่ 10 ระหว่างวันที่ 4-8 มกราคม 2553

งานที่ปฏิบัติ จัดทำใบลดหนี้การใช้ไฟฟ้าที่รัฐบาลรับภาระ ส่งหน่วยงานใหญ่ ตรวจสอบการออกใบแจ้งหนี้
จัดเรียงหมายเลขเครื่องวัดไฟฟ้า ตามรหัส 46,93,94 ตามลำดับ แยกประภทการใช้ไฟฟ้าออกเป็น 2 ประเภทคือ 1.1 และ 1.2 จัดทำรายงานหมายเลขเครื่องวัดที่รัฐบาลรับภาระ ลงข้อมูลเครื่องวัด AMR ตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงเครื่อวัดชำรุด จัดทำรายงานการอบรมของพนักงาน

ปัญหา การแยกประเภทเครื่องวัดมีความสับสนและยุ่งยาก

การแก้ปัญหา จดรายละเอียดของประเภทเครื่องวัดให้ละเอียด และนำมาใช้ดูประกอบการทำงาน

วันอังคารที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2552

สัปดาห์ที่ 9 ระหวางวันที่ 28-30 ธันวาคม 2552

งานที่ปฏิบัติ ลงบันทึกปิดงาน การถอดเครื่องวัดไฟฟ้า และเลขที่เครื่องวัดที่เสียหาย ไม่มีการคิดเงิน โดยการคีย์ข้อมูลบันทึกลงในฐานข้อมูล และใส่เลขที่ มท. ตรวจสอบการออกใบเสร็จรับเงิน และหน่วยไฟฟ้าให้มีความถูกต้อง
สัปดาห์ที่ 8 ระหว่างวันที่ 21-25 ธันวาคม 2552

งานที่ปฏิบัติ ตรวจสอบความถูกต้องของหน่วยไฟฟ้า ตรวจสอบข้อมูลในระบบฐานข้อมูลของการไฟฟ้า ออกเลขที่ มท. สำหรับปิดงาน ตรวจสอบการคิดค่าไฟเพิ่ม และตรวจสอบประวัติการใช้ไฟฟ้า วัดระดับหน่วยการใช้ไฟฟ้าว่ามีความผิดปกติหรือไม่ วิเคราะห์ผลการตรวจสอบเครื่องวัด และทำรายงานแจ้งแผนกจดหน่วย
สัปดาห์ที่ 7 ระหว่างวันที่ 14-18 ธันวาคม 2552

งานที่ปฏิบัติ เป็นการทำรายงานหนังสือแจ้งเรื่องการเปลี่ยนวันที่ในการจดหน่วยไฟฟ้า และบันทึกข้อมูลความเสียหายของเครื่องวัด ตรวจสอบความถูกต้องของหน่วยไฟฟ้า ตรวจสอบข้อมูลในระบบฐานข้อมูลของการไฟฟ้า ออกเลขที่ มท. สำหรับปิดงาน ตรวจสอบการคิดค่าไฟเพิ่ม และตรวจสอบประวัติการใช้ไฟฟ้า ตรวจเช็คการออกใบแจ้งหนี้ค่าไฟฟ้าที่ตกค้าง
สัปดาห์ที่ 6 ระหว่างวันที่ 7-11 ธันว่าคม 2552

งานที่ปฏิบัติ เป็นการวิเคราะห์ผลการตรวจสอบเครื่องวัด ว่ามีผลการตรวจสอบเป็นอย่างไร และทำการแยกออกเป็นหมวดๆ เพื่อดำเนินเรื่องต่อ คือ จะต้องนำไปลงบันทึกเก็บค่าไฟเพิ่ม จัดทำเป็นรายงานส่งแผนกจดหน่วย ซึ่งจะต้องใช้ความละเอียดในการแยกข้อมูล เพื่อไม่ให้ข้อมูลเกิดความผิดพลาด

ปัญหา บางครั้งวิเคราะห์ผลและแยกประเภทผิด

การแก้ปัญหา หากอันไหนไม่แน่ใจไปถามหัวหน้างานก่อน ว่าแยกถูกหรือไม่ ค่อยทำการบันทึกข้อมูลในขั้นต่อไป
การปฏิบัติงานในสัปดาห์ที่ 5 ระหว่างวันที่ 30พ.ย.-4ธ.ค. 2552

งานที่ปฏิบัติ เป็นการตรวจสอบการออกจดหน่วยการใช้ไฟฟ้า ว่ามีหน่วยการใช้ไฟฟ้าเท่าไร และทำบันทึกข้อมูลหน่วยการใช้ไฟฟ้า รวมไปถึงการตามเรื่องการเปลี่ยนเครื่องวัด ที่เสียหาย ว่าได้มีการเปลี่ยนเครื่องวัดให้ลูกค้าแล้วหรือยัง และลงบันทึกผลการตรวจสอบเครื่องวัดที่เสียหาย ว่ามีสาเหตุมาจากอะไร
สัปดาห์ที่ 4 ของการฝึกงาน ระหว่างวันที่ 23-28 พฤศจิกายน 2552

งานที่ปฏิบัติ งานที่รับผิดชอบจะเป็นการตรวจสอบการออกใบเสร็จรับเงินสำหรับลูกค้า ตรวจเช็คว่าได้ทำการออกใบเสร็จไปแล้วหรือยัง และวัดระดับการใช้ไฟฟ้าของลูกค้า ว่ามีความผิดปกติหรือไม่ มีการออกหนังสือเก็บค่าไฟฟ้าย้อนหลัง

ปัญหาที่เกิดขึ้น เกิดความผิดพลาดในการตรวจเช็คการออกใบเสร็จ

การแก้ปัญหา ตรวจช็คซ้ำอีกครั้งหนึ่งและเพิ่มความรอบคอบ

วันจันทร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

การฝึกงาน สัปดาห์ที่ 2-3

- เมื่อเข้าสู่อาทิตย์ที่ 2-3 แล้ว การทำงานร่วมกับผู้อื่นก็จะไม่ค่อยมีปัญหามากเท่ากับในตอนแรก เพราะเราได้ทำความรู้จักพี่ในที่ทำงานแล้ว งานที่เราได้รับมอบหมายก็จะมีมากขึ้น และต้องมีความรับผิดชอบมากขึ้นตามไปด้วย
- งานที่รับผิดชอบ งานที่ต้องทำส่วนใหญ่จะต้องเข้าไปตรวจสอบข้อมูลในระบบฐานข้อมูลของการไฟฟ้า และก็จะเป็นการทำรายงานทางโปรแกรม Microsoft Excel เป็นส่วนใหญ่ หัวหน้างานจะให้ข้อมูลมาและให้เราทำแบบฟอร์มออกมาเอง ให้มีความเหมาะสมกับข้อมูล โดยที่หัวหน้าจะบอกความต้องการมาว่าต้องการออกมาประมารไหน เป็นต้น และการเข้าไปตรวจสอบเครื่องวัดในฐานข้อมูลก็ต้องอาสัยความละเอียดรอบคอบในการตรวจสอบ เพราะถ้าเกิดการผิดพลาดก้จะทำให้รายงานที่ส่งกอง มีความเสียหายเป็นอย่างมาก
- ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้น ปัญหาส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้น คือ เข้าใจในงานไม่ตรงกับที่หัวหน้างานสั่ง ทำให้งานที่ทำส่งบางครั้งมีความผิดพลาด และต้องเสียเวลากลับมากแก้ไขงานใหม่
- การแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น ต้องฟังที่หัวหน้างานสั่งงานให้ละเอียด และทำความเข้าใจใหถูกต้องโดยการทวนถามย้ำงานที่สั่งอีกครั้งว่าที่เราเข้าใจถูกต้องหรือไม่ แล้วค่อยลงมือทำงาน

วันจันทร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

จุดเริ่มต้นของการฝึกงาน

อาทิตย์แรกของการฝึกงาน วันที่ 2 พ.ย. - 6 พ.ย. 52

- การปรับตัวให้เข้ากับสังคมการทำงาน เราจะต้องเป็นคนที่รู้จักเข้าหาผู้อื่นเสมอ เพราะเราถือเป็นน้องใหม่ในที่ทำงาน เราต้องเข้าไปของานพี่ๆทำ อย่ารอให้พี่ๆนำงานไปให้ พูดจาก็ต้องสุภาพ ยิ้มแย้มเสมอๆ อย่าทำอะไรตามใจตนเอง ต้องมองสายตาคนอื่นเสมอ เพราเราได้แบกชื่อมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิตไว้บนบ่าของเรา เพราฉะนั้นหากเราทำอะไรไม่ดี ไม่ใช่ว่าแค่เรา แต่เค้าจะว่าไปถึงสถาบันของเราด้วย

-งานที่ได้รับมอบหมาย งานที่ได้ทำในช่วงอาทิตย์แรกไม่มีอะไรมากมาย เพราะพี่เค้าก็ยังไม่รู้ในประสิทธิภาพของเรา ว่าเราสามารถทำได้มากน้อยแค่ไหน งานส่วนใหญที่ได้ทำจึงเป็นงานเกี่ยวข้องกับการ ลงข้อมูลในฐานข้อมูลของการไฟฟ้า การแยกไฟล์ข้อมูลเครื่องวัดไฟฟ้า โดยใช้โปรแกรม Microsoft Excel รวมไปถึงการกรองข้อมูลเครื่องวัดไฟฟ้า การตรวจเช็คอัตรการใช้ไฟฟ้า ในฐานข้อมูลของการไฟฟ้า ซึ่งงานส่วนใหญ่ในอาทิตย์แรกที่ได้รับมอบหมายก็จะมีเพียงเท่านี้ แต่มีปริมาณที่ค่อนข้างยาก และงานก็ต้องใช้ความละเอียดพอสมควร ในการตรวจสอบ

- ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้น บางครั้งงานที่ทำก็เกิดความผิดพลาดเนื่องจากเราไม่ได้ตรวจเช็คความละเอียดอย่างถี่ถ้วนทำให้ต้องเสียเวลากลับมาแก้งานใหม่ และบางทีที่ไม่มีอะไรให้ทำก็จะรู้สึกอึดอัดเล็กน้อย เพราะในขณะที่พี่ๆทำงานกัน แต่เรากลับไม่มีงานทำ เนื่องจากพี่ๆไม่รู้ว่าจะให้เราทำอะไรดี ทำให้เราคิดได้ว่า เราต้องพิสูจน์ตัวเองให้พี่ๆ เค้าเห็นว่าเรามีความสามารถทางด้านใด เค้าจะได้มีความไว้วางใจที่จะมอบหมายงานให้เรามากขึ้น

วันพุธที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2551


"กินปลา" ดีกว่า "น้ำมันปลา" ป้องกันความเสี่ยง "โรคหัวใจ"


สถาบันอาหาร สุขภาพ และโภชนาการมนุษย์แห่งนิวซีแลนด์ แนะนำว่า ควรจะกินปลาแซลมอนโดยตรงจะได้ คุณประโยชน์มากกว่ากินน้ำมันปลาแคปซูล
นักวิจัยของสถาบันได้ศึกษาพบว่า แม้ว่าการกินปลากับกินแคปซูลน้ำมันปลาจะได้ประโยชน์พอๆกัน ช่วยเพิ่มระดับของสารโอเมกา-3 แต่การกินปลายังได้คุณประโยชน์ ช่วยให้เลือดมีความเข้มข้นของเซเลเนียมที่เป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระมากขึ้นอีกด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์เวลมา สโตนเฮาส์ หัวหน้าคณะนักวิจัย ยังแจ้งด้วยว่า เซเลเนียมนอกจากมีส่วนช่วยลดความเสี่ยงของการเป็น มะเร็งแล้ว ยังเชื่อว่ามันยังช่วยขจัดความเสี่ยงของโรคหัวใจอีกด้วย.

วันอาทิตย์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2551

108 วิธีในการประหยัดพลังงาน

การใช้พลังงานอย่างคุ้มค่า ก็เป็นส่วนสำคัญในการช่วยโลกร้อนนะคะ เพราะฉะนั้นเรามาดูวิธีง่ายๆ ในการประหยัดพลังงาน กันดีกว่า ค่ะ เพื่อที่เราจะได้ช่วยกันประหยัดพลังงาน เป็นอีกวิธีในการช่วยโลกของเรา

-------- 108 วิธี ในการประหยัดพลังงาน --------

วิธีประหยัดน้ำมัน
1. ตรวจตราลมยางเป็นประจำ เพราะยางที่อ่อนเกินไปนั้น ทำให้สิ้นเปลืองน้ำมันมากกว่ายางที่มีปริมาณลมยางตามที่มาตรฐานกำหนด
2. สับเปลี่ยนยาง ตรวจตั้งศูนย์ล้อตามกำหนด จะช่วยประหยัดน้ำมันเพิ่มขึ้นอีกมาก
3. ดับเครื่องยนต์ทุกครั้งเมื่อต้องจอดรถนานๆ แค่จอดรถติดเครื่องทิ้งไว้ 10 นาที ก็เสียน้ำมันฟรีๆ 200 ซีซี
4. ไม่ควรติดเครื่องทิ้งไว้เมื่อจอดรถ ให้ดับเครื่องยนต์ทุกครั้งที่ขึ้นของ ลงของ หรือคอยคน เพราะการติดเครื่องทิ้งไว้ เปลืองน้ำมันและสร้างมลพิษอีกด้วย
5. ไม่ออกรถกระชากดังเอี๊ยด การออกรถกระชาก 10 ครั้ง สูญเสียน้ำมันไปเปล่าๆ ถึง 100 ซีซี น้ำมันจำนวนนี้รถสามารถวิ่งได้ไกล700 เมตร
6. ไม่เร่งเครื่องยนต์ตอนเกียร์ว่างอย่างที่เราเรียกกันติดปากว่าเบิ้ลเครื่องยนต์ การกระทำดังกล่าว 10 ครั้ง สูญเสียน้ำมันถึง 50 ซีซี ปริมาณน้ำมันขนาดนี้รถวิ่งไปได้ตั้ง 350 เมตร
7. ตรวจตั้งเครื่องยนต์ตามกำหนด ควรตรวจเช็คเครื่องยนต์สม่ำเสมอ เช่น ทำความสะอาดระบบไฟจุดระเบิด เปลี่ยนหัวคอนเดนเซอร์ ตั้งไฟแก่อ่อนให้พอดี จะช่วยประหยัดน้ำมันได้ถึง 10%
8. ไม่ต้องอุ่นเครื่อง หากออกรถและขับช้าๆ สัก 1-2 กม. แรกเครื่องยนต์จะอุ่นเอง ไม่ต้องเปลืองน้ำมันไปกับการอุ่นเครื่อง
9. ไม่ควรบรรทุกน้ำหนักเกินพิกัด เพราะเครื่องยนต์จะทำงานตามน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น หากบรรทุกหนักมาก จะทำให้เปลืองน้ำมันและสึกหรอสูง
10. ใช้ระบบการใช้รถร่วมกัน หรือคาร์พูล (Car pool) ไปไหนมาไหน ที่หมายเดียวกัน ทางผ่านหรือใกล้เคียงกัน ควรใช้รถคันเดียวกัน
11. เดินทางเท่าที่จำเป็นจริงๆ เพื่อประหยัดน้ำมัน บางครั้งเรื่องบางเรื่องอาจจะติดต่อกันทางโทรศัพท์ก็ได้ ประหยัดน้ำมันประหยัดเวลา
12. ไปซื้อของหรือไปธุระใกล้บ้านหรือใกล้ๆ ที่ทำงาน อาจจะเดินหรือใช้จักรยานบ้าง ไม่จำเป็นต้องใช้รถยนต์ทุกครั้ง เป็นการออกกำลังกายและประหยัดน้ำมันด้วย
13. ก่อนไปพบใคร ควรโทรศัพท์ไปถามก่อนว่าเขาอยู่หรือไม่ จะได้ไม่เสียเที่ยว ไม่เสียเวลา ไม่เสียน้ำมันไปโดยเปล่าประโยชน์
14. สอบถามเส้นทางที่จะไปให้แน่ชัด หรือศึกษาแผนที่ให้ดีจะได้ไม่หลง ไม่เสียเวลา ไม่เปลืองน้ำมันในการวนหา
15. ควรใช้โทรศัพท์ โทรสาร ไปรษณีย์ อินเตอร์เน็ท หรือใช้บริการส่งเอกสาร แทนการเดินทางด้วยตัวเอง เพื่อประหยัดน้ำมัน
16. ไม่ควรเดินทางโดยไม่ได้วางแผนการเดินทาง ควรกำหนดเส้นทาง และช่วงเวลาการเดินทางที่เหมาะสมเพื่อประหยัดน้ำมัน
17. หมั่นศึกษาเส้นทางลัดเข้าไว้ ช่วยให้ไม่ต้องเดินทางยาวนานไม่ต้องเผชิญปัญหาจราจร ช่วยประหยัดทั้งเวลาและประหยัดน้ำมัน
18. ควรบับรถด้วยความเร็วคงที่ เลือกขับที่ความเร็ว 70-80กิโลเมตรต่อชั่วโมงที่ 2,000-2,500 รอบเครื่องยนต์ ความเร็วระดับนี้ ประหยัดน้ำมันได้มากกว่า
19. ไม่ควรขับรถลากเกียร์ เพราการลากเกียร์ต่ำนานๆ จะทำให้เครื่องยนต์หมุนรอบสูงกินน้ำมันมาก และเครื่องยนต์ร้อนจัดสึกหรอง่าย
20. ไม่ติดตั้งอุปกรณ์ตกแต่งที่จะทำให้เครื่องยนต์ทำงานหนักขึ้นเช่น การทำให้เกิดการต้านลมขณะวิ่ง หรือทำให้เครื่องยนต์ ไม่สามารถถ่ายเทความร้อนได้ดี
21. ไม่ควรใช้น้ำมันเบนซินที่ออกเทนสูงเกินความจำเป็นของเครื่องยนต์ เพราะเป็นการสิ้นเปลืองพลังงานโดยเปล่าประโยชน์
22. หมั่นเปลี่ยนน้ำมันเครื่อง ไส้กรองน้ำมันเครื่อง ไส้กรองอากาศตามระยะเวลาที่เหมาะสม เพื่อประหยัดน้ำมัน
23. สำหรับเครื่องยนต์แบบเบนซิน ควรเลือกเติมน้ำมันเบนซินให้ถูกชนิด ถูกประเภท โดยเลือกตามค่าออกเทนที่เหมาะสมกับรถแต่ละยี่ห้อ (สังเกตจากฝาปิดถังน้ำมันด้านใน หรือรับคู่มือที่ปั้มน้ำมันใกล้บ้าน
24. ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องปรับอากาศตลอดเวลา ยามเช้าๆเปิดกระจกรับความเย็นจากลมธรรมชาติบ้างก็สดชื่นดี ประหยัดน้ำมันได้ด้วย
25. ไม่ควรเร่งเครื่องปรับอากาศในรถอย่างเต็มที่จนเกินความจำเป็นไม่เปิดแอร์แรงๆ จนรู้สึกหนาวเกินไป เพราะสิ้นเปลืองพลังงาน


วิธีประหยัดไฟฟ้า
26. ปิดสวิตช์ไฟ และเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิดเมื่อเลิกใช้งาน สร้างให้เป็นนิสัยในการดับไฟทุกครั้งที่ออกจากห้อง
27. เลือกซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ได้มาตรฐาน ดูฉลากแสดงประสิทธิภาพให้แน่ใจทุกครั้งก่อนตัดสินใจซื้อ หากมีอุปกรณ์ไฟฟ้าเบอร์ 5 ต้องเลือกใช้เบอร์ 5
28. ปิดเครื่องปรับอากาศทุกครั้งที่จะไม่อยู่ในห้องเกิน 1 ชั่วโมงสำหรับเครื่องปรับอากาศทั่วไป และ 30 นาที สำหรับเครื่องปรับอากาศเบอร์ 5
29. หมั่นทำความสะอาดแผ่นกรองอากาศของเครื่องปรับอากาศบ่อยๆ เพื่อลดการเปลืองไฟในการทำงานของเครื่องปรับอากาศ
30. ตั้งอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศที่ 25 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นอุณหภูมิที่กำลังสบาย อุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น 1 องศา ต้องใช้พลังงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 5-10
31. ไม่ควรปล่อยให้มีความเย็นรั่วไหลจากห้องที่ติดตั้งเครื่องปรับอากาศ ตรวจสอบและอุดรอยรั่วตามผนัง ฝ้าเพดาน ประตูช่องแสง และปิดประตูห้องทุกครั้งที่เปิดเครื่องปรับอากาศ
32. ลดและหลีกเลี่ยงการเก็บเอกสาร หรือวัสดุอื่นใดที่ไม่จำเป็นต้องใช้งานในห้องที่มีเครื่องปรับอากาศ เพื่อลดการสูญเสีย และใช้พลังงานในการปรับอากาศภายในอาคาร
33. ติดตั้งฉนวนกันความร้อนโดยรอบห้องที่มีการปรับอากาศเพื่อลดการสูญเสียพลังงานจากการถ่ายเทความร้อนเข้าภายในอาคาร
34. ใช้มูลี่กันสาดป้องกันแสงแดดส่องกระทบตัวอาคาร และบุฉนวนกันความร้อนตามหลังคาและฝาผนังเพื่อไม่ให้เครื่องปรับอากาศทำงานหนักเกินไป
35. หลีกเลี่ยงการสูญเสียพลังงานจากการถ่ายเทความร้อนเข้าสู่ห้องปรับอากาศ ติดตั้งและใช้อุปกรณ์ควบคุมการเปิด-ปิดประตูในห้องที่มีเครื่องปรับอากาศ
36. ควรปลูกต้นไม้รอบๆ อาคาร เพราะต้นไม้ขนาดใหญ่ 1 ต้นให้ความเย็นเท่ากับเครื่องปรับอากาศ 1 ตัน หรือให้ความเย็นประมาณ 12,000 บีทียู
37. ควรปลูกต้นไม้เพื่อช่วยบังแดดข้างบ้านหรือเหนือหลังคา เพื่อเครื่องปรับอากาศจะไม่ต้องทำงานหนักเกินไป
38. ปลูกพืชคลุมดิน เพื่อช่วยลดความร้อนและเพิ่มความชื้นให้กับดิน จะทำให้บ้านเย็น ไม่จำเป็นต้องเปิดเครื่องปรับอากาศเย็นจนเกินไป
39. ในสำนักงาน ให้ปิดไฟ ปิดเครื่องปรับอากาศ และอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ไม่จำเป็น ในช่วงเวลา 12.00-13.00 น. จะสามารถประหยัดค่าไฟฟ้าได้
40. ไม่จำเป็นต้องเปิดเครื่องปรับอากาศก่อนเวลาเริ่มงาน และควรปิดเครื่องปรับอากาศก่อนเวลาเลิกใช้งานเล็กน้อย เพื่อประหยัดไฟ
41. เลือกซื้อพัดลมที่มีเครื่องหมายมาตรฐานรับรอง เพราะพัดลมที่ไม่ได้คุณภาพ มักเสียง่าย ทำให้สิ้นเปลือง
42. หากอากาศไม่ร้อนเกินไป ควรเปิดพัดลมแทนเครื่องปรับอากาศ จะช่วยประหยัดไฟ ประหยัดเงินได้มากทีเดียว
43. ใช้หลอดไฟประหยัดพลังงาน ใช้หลอดผอมจอมประหยัดแทนหลอดอ้วน ใช้หลอดตะเกียบแทนหลอดไส้ หรือใช้หลอดคอมแพคท์ฟลูออเรสเซนต์
44. ควรใช้บัลลาสต์ประหยัดไฟ หรือบัลลาสต์อิเล็กโทรนิกคู่กับหลอดผอมจอมประหยัด จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการประหยัดไฟได้อีกมาก
45. ควรใช้โคมไฟแบบมีแผ่นสะท้อนแสงในห้องต่างๆ เพื่อช่วยให้แสงสว่างจากหลอดไฟ กระจายได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ทำให้ไม่จำเป็นต้องใช้หลอดไฟฟ้าวัตต์สูง ช่วยประหยัดพลังงาน
46. หมั่นทำความสะอาดหลอดไฟที่บ้าน เพราะจะช่วยเพิ่มแสงสว่างโดยไม่ต้องใช้พลังงานมากขึ้น ควรทำอย่างน้อย 4 ครั้งต่อปี
47. ใช้หลอดไฟที่มีวัตต์ต่ำ สำหรับบริเวณที่จำเป็นต้องเปิดทิ้งไว้ทั้งคืน ไม่ว่าจะเป็นในบ้านหรือข้างนอก เพื่อประหยัดค่าไฟฟ้า
48. ควรตั้งโคมไฟที่โต๊ะทำงาน หรือติดตั้งไฟเฉพาะจุด แทนการเปิดไฟทั้งห้องเพื่อทำงาน จะประหยัดไฟลงไปได้มาก
49. ควรใช้สีอ่อนตกแต่งอาคาร ทาผนังนอกอาคารเพื่อการสะท้อนแสงที่ดี และทาภายในอาคารเพื่อทำให้ห้องสว่างได้มากกว่า
50. ใช้แสงสว่างจากธรรมชาติให้มากที่สุด เช่น ติดตั้งกระจกหรือติดฟิล์มที่มีคุณสมบัติป้องกันความร้อน แต่ยอมให้แสงผ่านเข้าได้เพื่อลดการใช้พลังงานเพื่อแสงสว่างภายในอาคาร
51. ถอดหลอดไฟออกครึ่งหนึ่งในบริเวณที่มีความต้องการใช้แสงสว่างน้อย หรือบริเวณที่มีแสงสว่างพอเพียงแล้ว
52. ปิดตู้เย็นให้สนิท ทำความสะอาดภายในตู้เย็น และแผ่นระบายความร้อนหลังตู้เย็นสม่ำเสมอ เพื่อให้ตู้เย็นไม่ต้องทำงานหนักและเปลืองไฟ
53. อย่าเปิดตู้เย็นบ่อย อย่านำของร้อนเข้าแช่ในตู้เย็น เพราะจะทำให้ตู้เย็นทำงานเพิ่มขึ้น กินไฟมากขึ้น
54. ตรวจสอบขอบยางประตูของตู้เย็นไม่ให้เสื่อมสภาพ เพราะจะทำให้ความเย็นรั่วออกมาได้ ทำให้สิ้นเปลืองไฟมากกว่าที่จำเป็น
55. เลือกขนาดตู้เย็นให้เหมาะสมกับขนาดครอบครัว อย่าใช้ตู้เย็นใหญ่เกินความจำเป็นเพราะกินไฟมากเกินไป และควรตั้งตู้เย็นไว้ห่างจากผนังบ้าน 15 ซม.
56. ควรละลายน้ำแข็งในตู้เย็นสม่ำเสมอ การปล่อยให้น้ำแข็งจับหนาเกินไป จะทำให้เครื่องต้องทำงานหนัก ทำให้กินไฟมาก
57. เลือกซื้อตู้เย็นประตูเดียว เนื่องจากตู้เย็น 2 ประตู จะกินไฟมากกว่าตู้เย็นประตูเดียวที่มีขนาดเท่ากัน เพราะต้องใช้ท่อน้ำยาทำความเย็นที่ยาวกว่า และใช้คอมเพรสเซอร์ขนาดใหญ่กว่า
58. ควรตั้งสวิตช์ควบคุมอุณหภูมิของตู้เย็นให้เหมาะสม การตั้งที่ตัวเลขต่ำเกินไป อุณหภูมิจะเย็นน้อย ถ้าตั้งที่ตัวเลขสูงเกินไปจะเย็นมากเพื่อให้ประหยัดพลังงานควรตั้งที่เลขต่ำที่มีอุณหภูมิพอเหมาะ
59. ไม่ควรพรมน้ำจนแฉะเวลารีดผ้า เพราะต้องใช้ความร้อนในการรีดมากขึ้น เสียพลังงานมากขึ้น เสียค่าไฟเพิ่มขึ้น
60. ดึงปลั๊กออกก่อนการรีดเสื้อผ้าเสร็จ เพราะความร้อนที่เหลือในเตารีด ยังสามารถรีดต่อได้จนกระทั่งเสร็จ ช่วยประหยัดไฟฟ้า
61. เสียบปลั๊กครั้งเดียว ต้องรีดเสื้อให้เสร็จ ไม่ควรเสียบและถอดปลั๊กเตารีดบ่อยๆ เพราะการทำให้เตารีดร้อนแต่ละครั้งกินไฟมาก
62. ลด ละ เลี่ยง การใส่เสื้อสูท เพราะไม่เหมาะสมกับสภาพอากาศเมืองร้อน สิ้นเปลืองการตัด ซัก รีด และความจำเป็นในการเปิดเครื่องปรับอากาศ
63. ซักผ้าด้วยเครื่อง ควรใส่ผ้าให้เต็มกำลังของเครื่อง เพราะซัก1 ตัวกับซัก 20 ตัว ก็ต้องใช้น้ำในปริมาณเท่าๆ กัน
64. ไม่ควรอบผ้าด้วยเครื่อง เมื่อใช้เครื่องซักผ้า เพราะเปลืองไฟมาก ควรตากเสื้อผ้ากับแสงแดดหรือแสงธรรมชาติจะดีกว่า ทั้งยังช่วยประหยัดไฟได้มากกว่า
65. ปิดโทรทัศน์ทันทีเมื่อไม่มีคนดู เพราะการเปิดทิ้งไว้โดยไม่มีคนดู เป็นการสิ้นเปลืองไฟฟ้าโดยใช่เหตุ แถมยังต้องซ่อมเร็วอีกด้วย
66. ไม่ควรปรับจอโทรทัศน์ให้สว่างเกินไป และอย่าเปิดโทรทัศน์ให้เสียงดังเกินความจำเป็น เพราเปลืองไฟ ทำให้อายุเครื่องสั้นลงด้วย
67. อยู่บ้านเดียวกัน ดูโทรทัศน์รายการเดียวกัน ก็ควรจะดูเครื่องเดียวกัน ไม่ใช่ดูคนละเครื่อง คนละห้อง เพราะจะทำให้สิ้นเปลืองพลังงาน
68. เช็ดผมให้แห้งก่อนเป่าผมทุกครั้ง ใช้เครื่องเป่าผมสำหรับแต่งทรงผม ไม่ควรใช้ทำให้ผมแห้ง เพราะต้องเป่านาน เปลืองไฟฟ้า
69. ใช้เตาแก๊สหุงต้มอาหาร ประหยัดกว่าใช้เตาไฟฟ้า เตาอบไฟฟ้าและควรติดตั้งวาล์วนิรภัย (Safety Value) เพื่อความปลอดภัยด้วย
70. เวลาหุงต้มอาหารด้วยเตาไฟฟ้า ควรจะปิดเตาก่อนอาหารสุก5 นาที เพราะความร้อนที่เตาจะร้อนต่ออีกอย่างน้อย 5 นาทีเพียงพอที่จะทำให้อาหารสุกได้
71. อย่าเสียบปลั๊กหม้อหุงข้าวไว้ เพราะระบบอุ่นจะทำงานตลอดเวลา ทำให้สิ้นเปลืองไฟเกินความจำเป็น
72. กาต้มน้ำไฟฟ้า ต้องดึงปลั๊กออกทันทีเมื่อน้ำเดือด อย่าเสียบไฟไว้เมื่อไม่มีคนอยู่ เพราะนอกจากจะไม่ประหยัดพลังงานแล้วยังอาจทำให้เกิดไฟไหม้ได้
73. แยกสวิตช์ไฟออกจากกัน ให้สามารถเปิดปิดได้เฉพาะจุด ไม่ใช้ปุ่มเดียวเปิดปิดทั้งชั้น ทำให้เกิดการสิ้นเปลืองและสูญเปล่า
74. หลีกเลี่ยงการติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้า ที่ต้องมีการปล่อยความร้อนเช่น กาต้มน้ำ หม้อหุงต้ม ไว้ในห้องที่มีเครื่องปรับอากาศ
75. ซ่อมบำรุงอุปกรณ์ไฟฟ้าให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ และหมั่นทำความสะอาดเครื่องใช้ไฟฟ้าอยู่เสมอ จะทำให้ลดการสิ้นเปลืองไฟได้
76. อย่าเปิดคอมพิวเตอร์ทิ้งไว้ถ้าไม่ใช้งาน ติดตั้งระบบลดกระแสไฟฟ้าเข้าเครื่องเมื่อพักการทำงาน จะประหยัดไฟได้ร้อยละ 35-40และถ้าหากปิดหน้าจอทันทีเมื่อไม่ใช้งาน จะประหยัดไฟได้ร้อยละ 60
77. ดูสัญลักษณ์ Energy Star ก่อนเลือกซื้ออุปกรณ์สำนักงาน(เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องโทรสาร เครื่องพิมพ์ดีดไฟฟ้าเครื่องถ่ายเอกสาร ฯลฯ) ซึ่งจะช่วยประหยัดพลังงาน ลดการใช้กำลังไฟฟ้า เพราะจะมีระบบประหยัดไฟฟ้าอัตโนมัติ

วิธีประหยัดน้ำ
78. ใช้น้ำอย่างประหยัด หมั่นตรวจสอบการรั่วไหลของน้ำ เพื่อลดการสูญเสียน้ำอย่างเปล่าประโยชน์
79. ไม่ควรปล่อยให้น้ำไหลตลอดเวลาตอนล้างหน้า แปรงฟัน โกนหนวด และถูสบู่ตอนอาบน้ำ เพราะจะสูญน้ำไปโดยเปล่าประโยชน์ นาทีละหลายๆ ลิตร
80. ใช้สบู่เหลวแทนสบู่ก้อนเวลาล้างมือ เพราะการใช้สบู่ก้อนล้างมือจะใช้เวลามากกว่าการใช้สบู่เหลว และการใช้สบู่เหลวที่ไม่เข้มข้น จะใช้น้ำน้อยกว่าการล้างมือด้วยสบู่เหลวเข้มข้น
81. ซักผ้าด้วยมือ ควรรองน้ำใส่กาละมังแค่พอใช้ อย่าเปิดน้ำไหลทิ้งไว้ตลอดเวลาซัก เพราะสิ้นเปลืองกว่าการซักโดยวิธีการขังน้ำไว้ในกาละมัง
82. ใช้ Sprinkler หรือฝักบัวรดน้ำต้นไม้แทนการฉีดน้ำด้วยสายยาง จะประหยัดน้ำได้มากกว่า
83. ไม่ควรใช้สายยางและเปิดน้ำไหลตลอดเวลาในขณะที่ล้างรถเพราะจะใช้น้ำมากถึง 400 ลิตร แต่ถ้าล้างด้วยน้ำและฟองน้ำในกระป๋องหรือภาชนะบรรจุน้ำ จะลดการใช้น้ำได้มากถึง 300 ลิตรต่อการล้างหนึ่งครั้ง
84. ไม่ควรล้างรถบ่อยครั้งจนเกินไป เพราะนอกจากจะมีความสิ้นเปลืองน้ำแล้ว ยังทำให้เกิดสนิมที่ตัวถังได้ด้วย
85. ตรวจสอบท่อน้ำรั่วภายในบ้าน ด้วยการปิดก๊อกน้ำทุกตัวภายในบ้าน หลังจากทีทุกคนเข้านอน (หรือเวลาที่แน่ใจว่า ไม่มีใครใช้น้ำระยะหนึ่ง จดหมายเลขวัดน้ำไว้ ถ้าตอนเช้ามาตรเคลื่อนที่โดยที่ยังไม่มีใครเปิดน้ำใช้ ก็เรียกช่างมาตรวจซ่อมได้เลย)
86. ควรล้างพืชผักและผลไม้ในอ่างหรือภาชนะที่มีการกักเก็บน้ำไว้เพียงพอ เพราะการล้างด้วยน้ำที่ไหลจากก๊อกน้ำโดยตรง จะใช้น้ำมากกว่า การล้างด้วยน้ำที่บรรจุไว้ในภาชนะถึงร้อยละ 50
87. ตรวจสอบชักโครกว่ามีจุดรั่วซึมหรือไม่ ให้ลองหยดสีผสมอาหารลงในถังพักน้ำ แล้วสังเกตดูที่คอห่าน หากมีน้ำสีลงมาโดยที่ไม่ได้กดชักโครก ให้รีบจัดการซ่อมได้เลย
88. ไม่ใช้ชักโครกเป็นที่ทิ้งเศษอาหาร กระดาษ สารเคมีทุกชนิดเพราะจะทำให้สูญเสียน้ำจากการชักโครก เพื่อไล่สิ่งของลงท่อ
89. ใช้อุปกรณ์ประหยัดน้ำ เช่น ชักโครกประหยัดน้ำ ฝักบัวประหยัดน้ำ ก๊อกประหยัดน้ำ หัวฉีดประหยัดน้ำ เป็นต้น
90. ติด Areator หรือ อุปกรณ์เติมอากาศที่หัวก๊อก เพื่อช่วยเพิ่มอากาศให้แก่น้ำที่ไหลออกจากหัวก๊อก ลดปริมาณการไหลของน้ำ ช่วยประหยัดน้ำ
91. ไม่ควรรดน้ำต้นไม้ตอนแดดจัด เพราะน้ำจะระเหยหมดไปเปล่าๆ ให้รดตอนเช้าที่อากาศยังเย็นอยู่ การระเหยจะต่ำกว่าช่วยให้ประหยัดน้ำ
92. อย่าทิ้งน้ำดื่มที่เหลือในแก้วโดยไม่เกิดประโยชน์อันใด ใช้รดน้ำต้นไม้ ใช้ชำระพื้นผิว ใช้ชำระความสะอาดสิ่งต่างๆ ได้อีกมาก
93. ควรใช้เหยือกน้ำกับแก้วเปล่าในการบริการน้ำดื่ม และให้ผู้ที่ต้องการดื่มรินน้ำดื่มเอง และควรดื่มให้หมดทุกครั้ง
94. ล้างจานในภาชนะที่ขังน้ำไว้ จะประหยัดน้ำได้มากกว่าการล้างจานด้วยวิธีที่ปล่อยให้น้ำไหลจากก๊อกน้ำตลอดเวลา
95. ติดตั้งระบบน้ำให้สามารถใช้ประโยชน์จากการเก็บและจ่ายน้ำตามแรงโน้มถ่วงของโลก เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้พลังงานไปสูบและจ่ายน้ำภายในอาคาร

วิธีประหยัดพลังงานอื่นๆ
96. อย่าใช้กระดาษหน้าเดียวทิ้ง ให้ใช้กระดาษอย่างคุ้มค่าใช้ทั้งสองหน้า ให้นึกเสมอว่า กระดาษแต่ละแผ่นย่อมหมายถึงต้นไม้หนึ่งต้นที่ต้องเสียไป
97. ในสำนักงานให้ใช้การส่งเอกสารต่อๆ กัน แทนการสำเนาเอกสารหลายๆ ชุด เพื่อประหยัดกระดาษ ประหยัดพลังงาน
98. ลดการสูญเสียกระดาษเพิ่มมากขึ้น ด้วยการหลีกเลี่ยงการใช้กระดาษปะหน้าโทรสาร ชนิดเต็มแผ่น และหันมาใช้กระดาษขนาดเล็ก ที่สามารถตัดพับบนโทรสารได้ง่าย
99. ใช้การส่งผ่านข้อมูลข่าวสารต่างๆ ผ่านระบบคอมพิวเตอร์ โดยโมเด็ม หรือแผ่นดิสก์ แทนการส่งข่าวสารข้อมูลโดยเอกสาร ช่วยลดขั้นตอนการทำงาน ลดการใช้พลังงานได้มาก
100. หลีกเลี่ยงการใช้จานกระดาษ แก้วน้ำกระดาษ เวลาจัดงานสังสรรค์ต่างๆ เพราะสิ้นเปลืองพลังงานในการผลิต
101. รู้จักแยกแยะประเภทขยะ เพื่อช่วยลดขั้นตอน และลดพลังงานในการทำลายขยะ และทำให้ขยะทั้งหลายง่ายต่อการกำจัด
102. หนังสือพิมพ์อ่านเสร็จแล้วอย่าทิ้ง ให้เก็บไว้ขาย หรือพับถุง เก็บไว้ทำอะไรอย่างอื่น ใช้ซ้ำทุกครั้งถ้าทำได้ ช่วยลดการใช้พลังงานในการผลิต
103. ขึ้นลงชั้นเดียวหรือสองชั้น ไม่จำเป็นต้องใช้ลิฟท์ จำไว้เสมอว่าการกดลิฟท์แต่ละครั้ง สูญเสียพลังงานถึง 7 บาท
104. งด เลิก บริโภคผลิตภัณฑ์ที่ใช้แล้วทิ้งเลย เพราะเป็นการสิ้นเปลืองพลังงานในการผลิต ใช้ทรัพยากรธรรมชาติสิ้นเปลือง เพิ่มปริมาณขยะ เปลืองพลังงานในการกำจัดขยะ
105. ลดการใช้ผลิตภัณฑ์ ที่มีบรรจุภัณฑ์ที่ยากต่อการทำลาย เช่น โฟม หรือพลาสติก ควรเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้ (Reuse) หรือนำไปผ่านกระบวนการผลิตมาใช้ใหม่ได้ (Recycle)
106. สนับสนุนสินค้าที่มีบรรจุภัณฑ์ เป็นวัสดุที่สามารถนำมาผ่านกระบวนการนำมาใช้ใหม่ (Recycle) เช่น แก้ว กระดาษ โลหะ พลาสติกบางประเภท โดยจัดให้มีการแยกขยะในครัวเรือนและในสำนักงาน
107. ให้ความร่วมมือ สนับสนุน หรือเข้าร่วมกิจกรรมกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ที่รณรงค์ส่งเสริมให้มีการอนุรักษ์พลังงาน
108. กระตุ้นเตือนให้ผู้อื่นช่วยกันประหยัดพลังงาน โดยการติดสัญลักษณ์ หรือเครื่องหมายให้ช่วยประหยัดไฟ ตรงบริเวณใกล้สวิทช์ไฟ เพื่อเตือนให้ปิดเมื่อเลิกใช้แล้ว

-------------------- เป็นวิธีที่ไม่ยุ่งยากเลยนะคะ หากเราจะทำ นอกจากช่วยโลกของเราแล้ว ยังสามารถช่วยประหยัดเงินในกระเป๋าของเราอีกด้วยนะคะ ----------------------

วันจันทร์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2551

** ภาวะโลกร้อน **





ภาวะโลกร้อน (Global Warming)
ภาวะโลกร้อน (Global Warming) หรือ ภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง (Climate Change) เป็นปัญหาใหญ่ของโลกเราในปัจจุบัน สังเกตได้จาก อุณหภูมิ ของโลกที่สูงขึ้นเรื่อยๆ สาเหตุหลักของปัญหานี้ มาจาก ก๊าซเรือนกระจก ค่ะ (Greenhouse gases)
ปรากฏการณ์เรือนกระจก มีความสำคัญกับโลก เพราะก๊าซจำพวก คาร์บอนไดออกไซด์ หรือ มีเทน จะกักเก็บความร้อนบางส่วนไว้ในในโลก ไม่ให้สะท้อนกลับสู่บรรยากาศทั้งหมด มิฉะนั้น โลกจะกลายเป็นแบบดวงจันทร์ ที่ตอนกลางคืนหนาวจัด (และ ตอนกลางวันร้อนจัด เพราะไม่มีบรรยากาศ กรองพลังงาน จาก ดวงอาทิตย์) ซึ่งการทำให้โลกอุ่นขึ้นเช่นนี้ คล้ายกับหลักการของ เรือนกระจก (ที่ใช้ปลูกพืช) จึงเรียกว่า ปรากฏการณ์เรือนกระจก (Greenhouse Effect) ค่ะ
แต่การเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของ CO2 ที่ออกมาจาก โรงงานอุตสาหกรรม รถยนต์ หรือการกระทำใดๆที่เผา เชื้อเพลิงฟอสซิล (เช่น ถ่านหิน น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ หรือ สารประกอบไฮโดรคาร์บอน ) ส่งผลให้ระดับปริมาณ CO2 ในปัจจุบันสูงเกิน 300 ppm (300 ส่วน ใน ล้านส่วน) เป็นครั้งแรกในรอบกว่า 6 แสนปี
ซึ่ง คาร์บอนไดออกไซด์ ที่มากขึ้นนี้ ได้เพิ่มการกักเก็บความร้อนไว้ในโลกของเรามากขึ้นเรื่อยๆ จนเกิดเป็น ภาวะโลกร้อน ดังเช่นปัจจุบัน
ภาวะโลกร้อนภายในช่วง 10 ปีนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2533 มานี้ ได้มีการบันทึกถึงปีที่มีอากาศร้อนที่สุดถึง 3 ปีคือ ปี พ.ศ. 2533, พ.ศ.2538 และปี พ.ศ. 2540 แม้ว่าพยากรณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ยังมีความไม่แน่นอนหลายประการ แต่การถกเถียงวิพากษ์วิจารณ์ได้เปลี่ยนหัวข้อจากคำถามที่ว่า "โลกกำลังร้อนขึ้นจริงหรือ" เป็น "ผลกระทบจากการที่โลกร้อนขึ้นจะส่งผลร้ายแรง และต่อเนื่องต่อสิ่งที่มีชีวิตในโลกอย่างไร" ดังนั้น ยิ่งเราประวิงเวลาลงมือกระทำการแก้ไขออกไปเพียงใด ผลกระทบที่เกิดขึ้นก็จะยิ่งร้ายแรงมากขึ้นเท่านั้น และบุคคลที่จะได้รับผลกระทบมากที่สุดก็คือ ลูกหลานของพวกเราเอง



ผลกระทบจากสภาวะโลกร้อน
แม้ว่าโดยเฉลี่ยแล้วอุณหภูมิของโลกจะเพิ่มขึ้นไม่มากนัก แต่ผลกระทบที่เกิดขึ้นจะส่งผลต่อเป็นทอด ๆ และจะมีผลกระทบกับโลกในที่สุด ขณะนี้ผลกระทบดังกล่าวเริ่มปรากฏให้เห็นแล้วทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด คือ การละลายของน้ำแข็งทั่วโลก ทั้งที่เป็นธารน้ำแข็ง (glaciers) แหล่งน้ำแข็งบริเวณขั้วโลก และในกรีนแลนด์ซึ่งจัดว่าเป็นแหล่งน้ำแข็งที่ใหญ่ที่สุดในโลก น้ำแข็งที่ละลายนี้จะไปเพิ่มปริมาณน้ำในมหาสมุทร เมื่อประกอบกับอุณหภูมิเฉลี่ยของน้ำสูงขึ้น น้ำก็จะมีการขยายตัวร่วมด้วย ทำให้ปริมาณน้ำในมหาสมุทรทั่วโลกเพิ่มมากขึ้นเป็นทวีคูณ ทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นมาก ส่งผลให้เมืองสำคัญ ๆ ที่อยู่ริมมหาสมุทรตกอยู่ใต้ระดับน้ำทะเลทันที
มีการคาดการณ์ว่า หากน้ำแข็งดังกล่าวละลายหมด จะทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น 6-8 เมตรทีเดียว
ผลกระทบที่เริ่มเห็นได้อีกประการหนึ่งคือ การเกิดพายุหมุนที่มีความถี่มากขึ้น และมีความรุนแรงมากขึ้นด้วย ดังเราจะเห็นได้จากข่าวพายุเฮอริเคนที่พัดเข้าถล่มสหรัฐหลายลูกในช่วงสองสามปีที่ผ่านมา แต่ละลูกก็สร้างความเสียหายในระดับหายนะทั้งสิ้น สาเหตุอาจอธิบายได้ในแง่พลังงาน กล่าวคือ เมื่อมหาสมุทรมีอุณหภูมิสูงขึ้น พลังงานที่พายุได้รับก็มากขึ้นไปด้วย ส่งผลให้พายุมีความรุนแรงกว่าที่เคย
นอกจากนั้น สภาวะโลกร้อนยังส่งผลให้บางบริเวณในโลกประสบกับสภาวะแห้งแล้งอย่างอย่างไม่เคยมีมาก่อน เช่น ขณะนี้ได้เกิดสภาวะโลกร้อนรุนแรงขึ้นอีกเนื่องจากต้นไม้ในป่าที่เคยทำหน้าที่ดูดกลืนแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ได้ล้มตายลงเนื่องจากขาดน้ำ นอกจากจะไม่ดูดกลืนแก๊สต่อไปแล้ว ยังปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาจากกระบวนการย่อยสลายด้วย และยังมีสัญญาณเตือนจากภัยธรรมชาติอื่น ๆ อีกมา ซึ่งหากเราสังเกตดี ๆ จะพบว่าเป็นผลจากสภาวะนี้ไม่น้อย



การแก้ปัญหาโลกร้อน
เป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงว่าเราคงไม่อาจหยุดยั้งสภาวะโลกร้อนที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตได้ ถึงแม้ว่าเราจะหยุดผลิตแก๊สเรือนกระจกโดยสิ้นเชิงตั้งแต่บัดนี้ เพราะโลกเปรียบเสมือนเครื่องจักรขนาดใหญ่ที่มีกลไกเล็ก ๆ จำนวนมากทำงานประสานกัน การตอบสนองที่มีต่อการกระตุ้นต่าง ๆ จะต้องใช้เวลานานกว่าจะกลับเข้าสู่สภาวะสมดุล และแน่นอนว่า สภาวะสมดุลอันใหม่ที่จะเกิดขึ้นย่อมจะแตกต่างจากสภาวะปัจจุบันอย่างมาก
แต่เราก็ยังสามารถบรรเทาผลอันร้ายแรงที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตเพื่อให้ความรุนแรงลดลงอยู่ในระดับที่พอจะรับมือได้ และอาจจะชะลอปรากฏการณ์โลกร้อนให้ช้าลง กินเวลานานขึ้น สิ่งที่เราพอจะทำ
ได้ตอนนี้คือพยายามลดการผลิตแก๊สเรือนกระจกลง และเนื่องจากเรา ทราบว่าแก๊สดังกล่าวมาจากกระบวนการใช้พลังงาน การะประหยัดพลังงานจึงเป็นแนวทางหนึ่งในการลดอัตราการเกิดสภาวะโลกร้อนไปในตัว

++++++ ยังไงก็ฝากดูแลโลกของเราด้วยนะคะ ดูแลให้ดี เพื่อโลกที่น่าอยู่++++++

ข้อความจาก Pennapa

------------------- ขออภัยที่ไม่ได้เข้ามาเพิ่มข้อมูลในบล็อกค่ะ ----------------------

พอดีช่วงนี้ คิดสอบเลยไม่ค่อยมีเวลาเข้ามา อัพเดทบล็อก ต้องขออภัยอย่างมากนะคะที่หายไป

หวังว่าผู้ชมทุกท่านคงไม่โกรธกันนะคะ แล้วจะหาเวลาเข้ามาอัพบล็อกบ่อยๆ นะคะ

และ ขอให้ผู้ชมทุกท่านแสดงความคิดเห็นในบทความด้วยนะคะ จะได้ทราบว่าบทความที่หามานั้น ถูกใจรึเปล่า

ยังไงก็ของฝากบล็อกด้วยนะคะ

------------------------ ------------ขอบคุณค่ะ-----------------------------------------------